เมนู

7. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่กรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
8. ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสย-
ปัจจัย
9. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสย-
ปัจจัย
10. กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่กรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
11. มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูป
นั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ แก่มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลาย
ที่ประกอบกับมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสย-
ปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งนิสสยปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน นิสสยปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงนัยแห่งสหชาตนิสสยปัจจัยด้วย
อำนาจแห่งส่วนที่ 5 ข้างต้น แห่งสหชาตปัจจัยนิทเทสแล้ว เพื่อจะทรง
แสดงนัยแห่งปุเรชาตนิสสยปัจจัย ด้วยส่วนที่ 6 อีก จึงทรงเริ่มคำว่า จกฺขา-
ยตนํ จกฺขุวิญฺญาณธาตุยา
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ยํ รูปํ
นิสฺสาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง วัตถุรูป. จริงอยู่ จิต 75

เหล่านั้น คือมโนธาตุ 3 มโนวิญญาณธาตุ 72 เว้นอรูปวิบาก อาศัย
หทัยวัตถุนั้นเป็นไป. พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.
นิสสยปัจจัยว่าด้วยอำนาจชาติ จำแนกออกเป็น 5 ชาติ โดยเป็นกุศล
เป็นต้น. ใน 5 อย่างนั้น กุศลว่าโดยภูมิมี 4 ภูมิ อกุศลมีภูมิเดียว
เท่านั้น วิบากมี 4 ภูมิ กิริยามี 3 ภูมิ รูปมีภูมิเดียวเท่านั้น. ผู้ศึกษา
พึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่าง ๆ ในนิสสยปัจจัยนี้ ดัง
พรรณนามานี้.
ในนิสสยปัจจัยซึ่งจำแนกแล้วอย่างนี้ กุศลที่เป็นไปในภูมิ 4 เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ ด้วย
อำนาจของนิสสยปัจจัย. อกุศลก็เหมือนกัน. ในนิสสยปัจจัยนี้ จิตใดเกิด
ขึ้นในอรูปภพ จิตนั้นเป็นนิสสยปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น.
กามาวจรวิบาก และ รูปาจรวิบาก เป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่
สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปวัตติกาล เป็นนิสสยปัจจัยแก่
กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล. อรูปาวจรวิบาก เป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่
สัมปยุตเท่านั้น. โลกุตตรวิบาก เป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และ
รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ เป็นนิสสยปัจจัยแก่อรูปธรรม
เท่านั้นในจตุโวการภพ.
กามาวจรกิริยา และ อรูปาวจรกิริยา เป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่
สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ. เป็นปัจจัยแก่
อรูปธรรมเท่านั้นในจตุโวการภพ. รูปาวจรกิริยา เป็นนิสสยปัจจัย
โดยส่วนเดียว แก่ธรรมที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโว-
การภพ.

สำหรับรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง 4 ในรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน
มหาภูตรูป 1 เป็นนิสสยปัจจัยแก่มหาภูตรูป 3 มหาภูตรูป 3 เป็น
นิสสยปัจจัยแก่มหาภูตรูป 1 มหาภูตรูป 2 เป็นนิสสยปัจจัยแก่มหาภูต
รูป 2 มหาภูตรูปเป็นนิสสยปัจจัยแก่อุปาทารูป ในปัญจโวการภพ-
วัตถุรูปเป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรม 4 หมวดเหล่านี้ คือแก่กุศลในภูมิทั้ง 4
แก่อกุศล แก่วิบากในภูมิสามที่เหลือ เว้นอรูปวิบาก และทวิปัญจวิญญาณ-
จิต และแก่กิริยาในภูมิสาม.
อายตนะ 5 มีจักขายตนะเป็นต้น เป็นนิสสยปัจจัยแก่วิญญาณ 5
มีจักขุวิญญาณเป็นต้น พร้อมทั้งสัมปยุตตธรรม. ส่วนในบรรดารูปที่มีอุตุ
จิตและอาหารเป็นสมุฏฐาน มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป และ
เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบ
วินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในนิสสยปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.
วรรณนานิทเทสแห่งนิสสยปัจจัย จบ

[10]

อุปนิสสยปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่
อาศัยที่มีกำลังมาก กล่าวคือ
1. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม
ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
2. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม
ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยบางอย่าง